รายละเอียดและรูปกิจกรรมCSRต่างๆ
1. บริษัท ออนวัลล่า จำกัด ร่วมบริจาคสิ่งของร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี2560
2. คณะผู้บริหารบริษัท ออนวัลล่า จำกัด และผู้บริหารABUSจากประเทศเยอรมันเข้าเยี่ยมชมโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง เพื่อชมงานติดตั้งรอกABUSและเครน
ข่าวสารความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่
ปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ เครนเหนือศรีษะเป็นเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นหลักสำหรับการเคลื่อนย้ายของวัสดุในสถานที่ก่อสร้าง,โรงงานที่มีการผลิตการประกอบ ,ในสถานที่ที่มีพื้นที่ที่จัดเก็บสิ่งของต่างๆ ,สถานีพลังงานและสถานที่ที่คล้ายกัน เป็นต้น คุณสมบัติการออกแบบของเครนจะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละพื้นที่ที่สำคัญในการดำเนินงาน เช่น ชนิดของการเคลื่อนไหวของโครงสร้างเครนน้ำหนักและชนิดของภาระที่ตั้งของเครน คุณสมบัติทางกายภาพที่แฝงเร้นอยู่ในการดำเนินงาน และสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่
เครนประเภทต่างๆ
1. เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว (OVERHEAD CRANES : SINGLE GIRDER) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ซึ่งโดยทั่วไปจะมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 - 22 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 1 ตัน ถึง 25 ตัน
2. เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่ (OVERHEAD CRANES : DOUBLE GIRDER) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่มีชิ้นงานหนักมากๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10 - 35 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 2 ตัน ถึง 250 ตัน
3. เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว (GANTRY CRANES : SINGLE GIRDER) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง วางบนพื้นโรงงาน และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยวที่มีความเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก จะมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 -22 เมตร และมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 1 ตัน ถึง 25 ตัน
4. เครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานคู่ (GANTRY CRANES : DOUBLE GIRDER) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ทุกประการเช่นเดียวกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานคู่ ที่มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ที่มีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10 - 35 เมตร และมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 2 ตัน ถึง 250 ตัน
5. เครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว (SEMI GANTRY CRANES : SINGLE GIRDER) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้ในพื้นที่โรงงาน โดยจะติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสา ด้านข้างตัวอาคารโรงงาน หรือใช้ติดตั้งในร่ม และติดตั้งรางวิ่งที่พื้นด้านล่างของอาคารโรงงาน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถออกแบบเครนในโรงงานให้เป็น 2 ระดับได้อีกด้วย
6. เครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานคู่ (SEMI GANTRY CRANES : DOUBLE GIRDER) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้ติดตั้งได้ทั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มภายในตัวอาคารโรงงานมีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว และกรณีที่ต้องการออกแบบเป็นแบบคานคู่ เพราะผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพภาพในการยกวัตถุ และสินค้าที่หนักกว่า และพื้นที่ใช้งานในพื้นที่ที่กว้างกว่า
7. เครนตั้งเสายื่นแขนหมุน (PILLAR JIB CRANES) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะพื้นที่ รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครนสามารถหมุนได้รอบตัว
8. เครนติดผนังยื่นแขนหมุน (WALL JIB CRANES) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะพื้นที่ รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน เช่นเดียวกันกับเครนตั้งเสายื่นแขนหมุน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือการใช้เสาของอาคารโรงงานเป็นตัวยึดโครงสร้างเพื่อให้แขนหมุนเท่านั้น
9. เครนติดผนังยื่นแขนยก (WALL CRANES) มีความเหมาะสมสำหรับการใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างผนังตัวอาคารโรงงาน เครนติดผนังยื่นแขนยกนั้น มีชุดขาเครน 3 ขา 6 ล้อ วิ่งอยู่บนราง 2 ชั้น โดยชุดขาเครนทั้งหมดติดตั้งไว้ที่รางวิ่งทั้ง 2ชั้นติดตั้งกับเสาข้างผนังโรงงาน และชุดคานเครนยื่นตัวออกมาอิสระเพื่อยกวัตถุหรือสินค้า ซึ่งการใช้งานยกสินค้าตลอดแนวด้านข้างของโรงงาน เช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงด้านเดียว แต่มีความสะดวกมากกว่า
10. เครนเหนือศีรษะแขวนวิ่งใต้ราง (SUSPENSION CRANES / UNDERHUNG CRANES) โดยสามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ เครนลักษณะนี้มีความเหมาะสมใช้กับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่ต้องการใช้งานพื้นที่ด้านล่างกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น อาคารโรงจอดซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่ เป็นต้น
11. รอกรางเลื่อนไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Monorail Crane) รอกติดตั้งและเคลื่อนที่ตามรางเดี่ยวที่ติดตั้งตามสภาพโครงสร้างของกระบวนการผลิตตัวรางจะเป็นรางเดี่ยวสามารถออกแบบให้เป็นเส้นตรงหรือคดโค้งตามสภาพพื้นที่การทำงานก็ได้ ตัวรอกสามารถเคลื่อนที่เดินหน้าถอยหลังหรือวิ่งเข้าโค้งก็ได้ ใช้สำหรับงานยกน้ำหนักประมาณ 500-10,000 กิโลกรัม ด้วยการออกแบบลักษณะดังนี้ จึงทำงานได้แค่สี่ทิศทางคือ เดินหน้า-ถอยหลัง-เลื่อนขึ้นและลงตามแนวดิ่ง